::งานประเมินเว็บของวิชา Computer and Presentation::

ให้นิสิตทำการประเมิน Blog ของตัวเองโดยมีเกณฑ์การประเมินดังนี้


- เนื้อหาเกี่ยวกับ ?-วัตถุประสงค์/เป้าหมาย ?-เนื้อหาเป็นประโยชน์ (ให้คะแนน 0-5) ?
- - - - -5 คะแนน ค่ะ

- ความน่าสนใจ (0-5) ?
- - - - -5 คะแนน ค่ะ

- ความทันสมัย (0-5) ?
- - - - -5 คะแนน ค่ะ

-การออกแบบ/ความสวยงาม (0-5) ?
- - - - -5 คะแนน ค่ะ

- ความเรียบง่าย(อ่านง่าย เข้าใจง่าย)(0-5)?
- - - - -5 คะแนน ค่ะ


สรุปคะแนนที่ได้ / / // / วุ้ว ว ว ว ว

- - - - -25 คะแนน

เขียนผลการประเมินลงใน Blog ของตัวเองโดยใส่ Label (ป้ายชื่อ) เป็นงานส่ง

^ ^ห่ะ ๆ ๆ

หลักการออกแบบและพัฒนาการนำเสนองานผ่านเว็บ [งานส่งค่ะ]

1. ความเรียบง่าย (Simplicity)หมายถึง การจำกัดองค์ประกอบเสริมให้เหลือเฉพาะองค์ประกอบหลัก คือในส่วนของกราฟิก สีสัน ตัวอักษรและภาพเคลื่อนไหว ที่จะนำมาประกอบเสริมในการนำเสนอนั้นต้องเลือกให้พอเหมาะ ถ้าหากมีมากเกินไปจะรบกวนสายตาและสร้างความคำราญต่อผู้ใช้ โดยการออกแบบที่เรียบง่าย ไม่ซับซ้อน และใช้งานอย่างสะดวก

2. ความสม่ำเสมอ ( Consistency)หมายถึง การสร้างความสม่ำเสมอให้เกิดขึ้นตลอดทั้งเว็บไซต์ โดยอาจเลือกใช้รูปแบบเดียวกันตลอดทั้งเว็บไซต์ก็ได้ เพราะถ้าหากว่าแต่ละหน้าในเว็บไซต์นั้นมีความแตกต่างกันมากจนเกินไป อาจทำให้ผู้ใช้เกิดความสับสนและไม่แน่ใจว่ากำลังอยู่ในเว็บไซต์เดิมหรือไม่ และความสมำเสมอเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการนำเสนอสไลด์ซึ่งเป็นเนื้อหาในเรื่อง เดียวกัน คือ ต้องมีความคงตัวในการออกแบบสไลด์ ซึ่งหมายถึงต้องใช้รูปแบบสไลด์เดียวกันทุกแผ่นที่เกี่ยวกับเนื้อหานั้น โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนสี พื้นหลัง หรือขนาดและแบบตัวอักษร โดยอาจจะมีการเน้นในจุดที่สำคัญเช่นการเล่นสีตัวอักษรหรือสีสไลด์

3. ความเป็นเอกลักษณ์ (Identity)ในการออกแบบเว็บไซต์ต้องคำนึงถึงลักษณะขององค์กรเป็นหลัก เนื่องจากเว็บไซต์จะสะท้อนถึงเอกลักษณ์และลักษณะขององค์กร การเลือกใช้ตัวอักษร ชุดสี รูปภาพหรือกราฟิก จะมีผลต่อรูปแบบของเว็บไซต์เป็นอย่างมาก ตัวอย่างเช่น ถ้าเราต้องออกแบบเว็บไซต์ของธนาคารแต่เรากลับเลือกสีสันและกราฟิกมากมาย อาจทำให้ผู้ใช้คิดว่าเป็นเว็บไซต์ของสวนสนุกซึ่งส่งผลต่อความเชื่อถือของ องค์กรได้

4. เนื้อหา (Useful Content)ถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในเว็บไซต์ เนื้อหาในเว็บไซต์ต้องสมบูรณ์และได้รับการปรับปรุงพัฒนาให้ทันสมัยอยู่เสมอ ผู้พัฒนาต้องเตรียมข้อมูลและเนื้อหาที่ผู้ใช้ต้องการให้ถูกต้องและสมบูรณ์ เนื้อหาที่สำคัญที่สุดคือเนื้อหาที่ทีมผู้พัฒนาสร้างสรรค์ขึ้นมาเอง และไม่ไปซ้ำกับเว็บอื่น เพราะจะถือเป็นสิ่งที่ดึงดูดผู้ใช้ให้เข้ามาเว็บไซต์ได้เสมอ แต่ถ้าเป็นเว็บที่ลิงค์ข้อมูลจากเว็บอื่น ๆ มาเมื่อใดก็ตามที่ผู้ใช้ทราบว่า ข้อมูลนั้นมาจากเว็บใด ผู้ใช้ก็ไม่จำเป็นต้องกลับมาใช้งานลิงค์เหล่านั้นอีก

5. ระบบเนวิเกชั่น (User-Friendly Navigation)เป็นส่วนประกอบที่มีความสำคัญต่อเว็บไซต์มาก เพราะจะช่วยไม่ให้ผู้ใช้เกิดความสับสนระหว่างดูเว็บไซต์ ระบบเนวิเกชั่นจึงเปรียบเสมือนป้ายบอกทาง ดังนั้นการออกแบบเนวิเกชั่น จึงควรให้เข้าใจง่าย ใช้งานได้สะดวก ถ้ามีการใช้กราฟิกก็ควรสื่อความหมาย ตำแหน่งของการวางเนวิเกชั่นก็ควรวางให้สม่ำเสมอ เช่น อยู่ตำแหน่งบนสุดของทุกหน้าเป็นต้น ซึ่งถ้าจะให้ดีเมื่อมีเนวิเกชั่นที่เป็นกราฟิกก็ควรเพิ่มระบบเนวิเกชั่นที่ เป็นตัวอักษรไว้ส่วนล่างด้วย เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ที่ยกเลิกการแสดงผลภาพกราฟิกบนเว็บเบราเซอร์

6. คุณภาพของสิ่งที่ปรากฏให้เห็นในเว็บไซต์ (Visual Appeal)ลักษณะที่น่าสนใจของเว็บไซต์นั้น ขึ้นอยู่กับความชอบส่วนบุคคลเป็นสำคัญ แต่โดยรวมแล้วก็สามารถสรุปได้ว่าเว็บไซต์ที่น่าสนใจนั้นส่วนประกอบต่าง ๆ ควรมีคุณภาพ เช่น กราฟิกควรสมบูรณ์ไม่มีรอยหรือขอบขั้นบันได้ให้เห็น ชนิดตัวอักษรอ่านง่ายสบายตา มีการเลือกใช้โทนสีที่เข้ากันอย่างสวยงาม เป็นต้น

7. ความสะดวกของการใช้ในสภาพต่าง ๆ (Compatibility)การใช้งานของเว็บไซต์นั้นไม่ควรมีขอบจำกัด กล่าวคือ ต้องสามารถใช้งานได้ดีในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย ไม่มีการบังคับให้ผู้ใช้ต้องติดตั้งโปรแกรมอื่นใดเพิ่มเติม นอกเหนือจากเว็บบราวเซอร์ ควรเป็นเว็บที่แสดงผลได้ดีในทุกระบบปฏิบัติการ สามารถแสดงผลได้ในทุกความละเอียดหน้าจอ ซึ่งหากเป็นเว็บไซต์ที่มีผู้ใช้บริการมากและกลุ่มเป้าหมายหลากหลายควรให้ ความสำคัญกับเรื่องนี้ให้มาก

8. ความคงที่ในการออกแบบ (Design Stability)ถ้าต้องการให้ผู้ใช้งานรู้สึกว่าเว็บไซต์มีคุณภาพ ถูกต้อง และเชื่อถือได้ ควรให้ความสำคัญกับการออกแบบเว็บไซต์เป็นอย่างมาก ต้องออกแบบวางแผนและเรียบเรียงเนื้อหาอย่างรอบคอบ ถ้าเว็บที่จัดทำขึ้นอย่างลวก ๆ ไม่มีมาตรฐานการออกแบบและระบบการจัดการข้อมูล ถ้ามีปัญหามากขึ้นอาจส่งผลให้เกิดปัญหาและทำให้ผู้ใช้หมดความเชื่อถือ

9. ความคงที่ของการทำงาน (Function Stability)ระบบการทำงานต่าง ๆ ในเว็บไซต์ควรมีความถูกต้องแน่นอน ซึ่งต้องได้รับการออกแบบสร้างสรรค์และตรวจสอบอยู่เสมอ ตัวอย่างเช่น ลิงค์ต่าง ๆ ในเว็บไซต์ ต้องตรวจสอบว่ายังสามารถลิงค์ข้อมูลได้ถูกต้องหรือไม่ เพราะเว็บไซต์อื่นอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ปัญหาที่เกิดจากลิงค์ ก็คือ ลิงค์ขาด ซึ่งพบได้บ่อยเป็นปัญหาที่สร้างความรำคาญกับผู้ใช้เป็นอย่างมาก

การวิเคราะห์และประเมินผลสื่อนำเสนอในแบบต่างๆ [ งานส่งค่ะ ]

1.ความเรียบง่าย:จัดทำสไลด์ให้ดูเรียบง่ายที่สุดเท่าที่ทำได้ เช่น ใช้สีอ่อนเป็นพื้นหลังเพื่อไม่รบกวนสายตาในการอ่าน และสามารถเห็นเนื้อหาได้อย่างชัดเจน หรือใช้พื้นหลังตามลักษณะเนื้อหา

2.มีความคงตัว(consistent):เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการนำเสนอสไลด์ซึ่งเป็นเนื้อหาในเรื่องเดียวกัน คือ ต้องมีความคงตัวในการออกแบบสไลด์ ซึ่งหมายถึงต้องใช้รูปแบบสไลด์เดียวกันทุกแผ่นที่เกี่ยวกับเนื้อหานั้น โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนสี พื้นหลัง หรือขนาดและแบบตัวอักษร แต่หากต้องการเน้นจุดสำคัญ หรือเป็นเนื้อหาย่อยออกไปจะสามารถเปลี่ยนบางสิ่ง เช่น สีตัวอักษรในสไลด์ให้ดูแตกต่างไปได้บ้าง หรืออาจมีการเปลี่ยนสีพื้นหลังให้แตกต่างจากเนื้อหาสักเล็กน้อยก็อาจทำได้เช่นกัน


3.ใช้ความสมดุล:การออกแบบส่วนประกอบของสไลด์ให้มีลักษณะสมดุลมีแบบแผน (formal balance)หรือสมดุลไม่มีแบบแผน (informal balance) ก็ได้ แต่ต้องระวังสไลด์ทุกแผ่นให้มีลักษณะของความสมดุลที่เลือกใช้ให้เหมือนกันเพื่อความคงตัว


4.มีแนวคิดเดียวในสไลด์แต่ละแผ่น:ข้อความ และภาพที่บรรจุในสไลด์แผ่นหนึ่งๆ ต้องเป็นเนื้อหาของแต่ละแนวคิดเท่านั้น หากเนื้อหานั้นมีหลายแนวคิด หรือเนื้อหาย่อยต้องใช้สไลด์แผ่นใหม่

5.สร้างความกลมกลืน:ใช้แบบอักษรและภาพกราฟิกให้เหมาะสมกับลักษณะของเนื้อหา ใช้แบบอักษรที่อ่านง่าย และใช้สีที่ดูแล้วสบายตา เลือกภาพกราฟิกที่ไม่ซับซ้อน และให้ถูกต้องตรงตามเนื้อหา รวมถึงให้เหมาะสมกับเนื้อหาที่เป็นทางการ หรือไม่เป็นทางการด้วย

6.แบบอักษร:ไม่ใช้อักษรมากกว่า 2 แบบในสไลด์เรื่องหนึ่ง โดยใช้แบบหนึ่งเป็นหัวข้อ และอีกแบบหนึ่งเป็นเนื้อหา หากต้องการเน้นข้อความตอนใดให้ใช้ตัวหนา (bold) หรือตัวเอน (italic) แทนเพื่อการแบ่งแยกให้เห็นความแตกต่าง

7.เนื้อหา และจุดนำข้อความ:ข้อความในสไลด์ควรเป็นเฉพาะหัวข้อ หรือเนื้อหาสำคัญเท่านั้น โดยไม่มีรายละเอียดของเนื้อหา และควรนำเสนอเป็นแต่ละย่อหน้า โดยอาจมีจุดนำข้อความอยู่ข้างหน้า เพื่อแสดงให้ทราบถึงเนื้อหาแต่ละประเด็น และไม่ควรมีจุดนำข้อความมากกว่า 4 จุดในสไลด์แผ่นหนึ่ง โดยสามารถใช้ต้นแบบสไลด์ที่มีจุดนำข้อความใน Auto Layout เพื่อเพิ่มจุดนำข้อความให้ปรากฏขึ้นหน้าข้อความแต่ละครั้งเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้รับฟังการนำเสนอ อาจจะใช้การจางข้อความ (dim body text) ในข้อความที่บรรยายไปแล้วเพื่อให้มีเฉพาะจุดนำข้อความ และเนื้อหาที่กำลังนำเสนอเท่านั้นปรากฏแก่สายตา

8.เลือกใช้กราฟิกอย่างระมัดระวัง:การใช้กราฟิกที่เหมาะสมจะสามารถเพิ่มการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิผล แต่หากใช้กราฟิกที่ไม่เหมาะสมกับเนื้อหาจะทำให้การเรียนรู้นั้นลดลง และอาจทำให้สื่อความหมายผิดไปได้

9.ความคมชัด(resolution)ของภาพ:เนื่องจากความคมชัดของจอมอนิเตอร์มีเพียง 72-96 DPI เท่านั้น ภาพกราฟิกที่นำเสนอประกอบในเนื้อหาจึงไม่จำเป็นต้องใช้ภาพที่มีความคมชัดสูงมาก ควรใช้ภาพในรูปแบบ JPEG ที่มีความคมชัดปานกลาง และขนาดไม่ใหญ่มากนัก ประมาณ 20-50 KB ซึ่งท่านควรทำการบีบอัด หรือcompress และลดขนาดภาพก่อนเพื่อไม่ให้เปลืองเนื้อที่ในการเก็บบันทึก และการจัดส่งไฟล์ผ่านไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e- mail) หรือการอัพโหลดไว้บนเว็บไซต์จะสามารถทำได้ไวยิ่งขึ้น

10.เลือกต้นแบบสไลด์ และแบบอักษรที่เหมาะสมกับอุปกรณ์ร่วม:เนื่องจากการนำเสนอต้องมีการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับอุปกรณ์ร่วม เช่น เครื่องแอลซีดี หรือโทรทัศน์เพื่อเสนอข้อมูลขยายใหญ่บนจอภาพ ดังนั้น ก่อนการนำเสนอควรทำการทดลองก่อนเพื่อให้ได้ภาพบนจอภาพที่ถูกต้องเหมาะสม เพราะว่าเมื่อฉายแล้วเสี้ยวซ้ายของสไลด์จะไม่ปรากฏให้เห็นตามหลักของอัตราส่วน 4:3

::Easy Portrait ง่ายๆกับการถ่ายภาพบุคคล::


เทคนิคการถ่ายภาพให้สวย
1.การทิ้งฉากหลัง หรือ ละลายฉากหลังดีตรงที่จะทำตัวแบบเด่น ไม่มีฉากหลังรก ๆ มาแย่งสายตาแต่ในบางกรณี..หากฉากหลังไม่แย่งสายตา หรือ เป็นลักษณะฉากหลังที่สามารถที่จะเล่าเรื่องราวได้ ก็ถือได้ว่า เป็นภาพที่สมบูรณ์ได้เช่นกัน
2.แสงสีของฉากหลังแสงสีของฉากหลังที่ดี ก็คือ แสงสีของฉากจะต้องมืดกว่าค่าแสงเฉลี่ยของหน้านางแบบ และสว่างกว่าค่าแสงที่ผมส่วนมืดของนางแบบ(ในบางกรณี..เราจะอาจกำหนดให้ฉากหลังชัดก็ได้ หากฉากหลังมีความน่าสนใจ แต่ถ้าหากฉากหลังนั้นมีลักษณะไม่สวยงาม ยุ่งเหยิง รวมทั้งจะไปแย่งความเด่นของตัวแบบไปโดยไม่จำเป็นแล้ว ก็ให้ใช้วิธีการละลายฉากหลัง หรือ เลี่ยง/หลบฉากหลังแทน)
3.อย่าให้ตัวแบบ/นางแบบกลายเป็นคนพิการ ถ่ายรูปคนอย่าทำให้นางแบบเป็นคนพิการเด็ดขาด!!! นั่นคือ อย่าให้ปลายมือ ปลายเท้า ข้อศอกขาดพยายามเก็บเข้ามาในเฟรมให้หมด ถ้าจะตัดส่วนไม่เอาไว้ในเฟรมก็ต้องตัดให้เห็นว่าจงใจตัด เช่น ตัดสูงกว่าศอกและเข่าแต่ประเภทเห็นทั้งตัว ยกเว้นนิ้วเท้าอย่างนี้ไม่ควรตัดอย่างเด็ดขาดเลย
4.อย่าให้ตัวแบบคอขาดถ้าฉากหลังเป็นท้องฟ้า ทะเล ขอบฟ้า สายไฟ หรืออะไรก็ตาม ที่มีเส้นนอน พยายามอย่าจัดให้พาดผ่านคอนางแบบเด็ดขาด เพราะจะทำให้ได้ภาพในลักษณะ "นางแบบคอขาด!!!"ถ้าจะให้ที่สุดดีควรจัดให้เส้นนอนอยู่สูงกว่าระดับศีรษะ หรือ ต่ำกว่าไหล่จึงจะทำให้ภาพดูดีขึ้น
5.วัดแสงที่หน้า และโฟกัสไปที่ลูกตาเป็นสำคัญ ถ่ายรูปลูกตาต้องชัดเสมอ ถ้าหากไม่ชัดก็จะต้องมีเหตุผลมารองรับว่า...ทำไมถึงอยากให้ชัด ใบหน้าจะเป็นจุดแรกที่คนมอง อย่างน้อยที่สุด เราจะต้องเซ็ทให้แสงที่หน้าพอดีเสมอ ยกเว้นในกรณีที่เจตนาให้มืด หรือสว่างกว่าปกติ...แต่ก็ต้องมีเหตุผลมารองรับเสมอด้วย
6.จะเลือกขวา หรือ ซ้ายดี ปกติแล้วใบหน้าของคนเราทั้งสองซีก สวยไม่เท่ากัน เรื่องนี้ช่างภาพเองจะต้องอาศัยการพินิจพิจารณาให้ดี ๆ หลังจากนั้นจึงค่อยพยายามจัดกล้องให้อยู่ฝั่งที่สวยกว่า หรือจัดแสงหลักให้อยู่ฝั่งที่สวยกว่าเป็นต้น
7.ตาโตสิ..ดูดีกว่าดังที่กล่าวข้างต้นแล้วว่า ใบหน้าของคนเราทั้ง 2 ซีก..สวยไม่เท่ากัน อาจจะคำถามว่า แล้วเราจะสังเกตได้อย่างไรล่ะ? ใช่มั้ย ใบหน้าซีกที่สวยกว่าดูไม่ยาก..มันมีเคล็ดลับอยู่ว่า ให้ดูที่ "ลูกกะตา" หากลูกตาข้างไหนโตกว่า..ใบหน้าข้างนั้น คือ ข้างที่สวยกว่า (อันนี้...ถือเป็น "เคล็ดลับ" ที่รู้กันในหมู่ช่างภาพระดับเซียน ๆ ทั้งหลาย) (จริงๆนะ)


8.ให้แสงครึ่งหน้าในกรณีที่สภาพของแสงที่ตกกระทบบนใบหน้าทั้งสองฟากมีความต่างกันมาก ผลที่ออกมาก็คือ ซีกหนึ่งสว่างจ้า แต่อีกหนึ่งมืด หากมีสภาพแสงในลักษณะนี้ประการแรกให้ถามตัวแบบว่า ชอบสภาพแสงในลักษณะนี้หรือไม่สภาพที่แหล่งกำเนิดแสงอยู่ด้านข้าง หากดูแล้วเห็นว่าจะทำให้ตัวแบบถ้าดูแล้ว ดูไม่ดี เราสามารถกำหนดเทคนิคให้ตัวแบบหันหน้าเข้าหาแสงเล็กน้อยก็จะดูขึ้นมากที เดียวเลย




9.อย่าให้นางแบบหน้ามืดข้อนี้สำคัญมาก หน้านางแบบควรที่จะสว่าง หรือหากจำเป็นที่เราจะต้องถ่ายภาพย้อนแสง ก็ให้ Fill flash เพื่อลบเงา(เปิดแสง)ที่ตัวแบบ (ยกเว้นในกรณีที่เราต้องการในลักษณะ Silhouette ก็ว่าไปอย่าง)




10.เงยหน้านิดนึง..แล้วจะดีกำหนดให้ตัวแบบเงยหน้าขึ้นนิดนึง ภาพจะออกมาดูดีกว่าหน้าตรง หรือก้มหน้างุด ๆ (ยกเว้นเจตนาให้ได้ภาพที่แสดงออกซึ่งอารมณ์อื่นใด???)เคล็ดลับหนึ่งในการดูว่าใบหน้าข้างไหนสวยกว่ากัน ก็คือ ให้สังเกตที่มุมปากเวลายิ้มของตัวแบบ ถ้ามุมปากข้างไหนยกสูงกว่ากัน ก็ข้างนั้นแหละ




11.นางแบบไม่ใช่ตัวการ์ตูน ดังนั้นเส้นผมของนางแบบจึงควรจะเห็นเป็นเส้นๆ ไม่ใช่ดำเป็นปื้น ถ้ามองแล้วเห็นผมดำเป็นปื้น ให้จัดแสงใหม่ ให้แสงกระทบผมให้ดี หรือหรี่ช่องรับแสงลงนิดนึงเพื่อให้ผมเป็นเส้น หรือ ใช้เทคนิค Rim Light นั่นเอง(ซึ่งการใช้เทคนิคนี้...มีการวัดแล้ว สรุปว่าได้ว่าจะทำให้ตัวแบบ(นางแบบ)สวยขึ้น 18.75% รวมทั้งจะทำให้ผมสวยขึ้น 33.29%... (ว่าไปนั่น...อิอิ)




12.ไม่ใช่ทำบัตรประชาชน ควรหลีกเลี่ยงการถ่ายแบบตรง ๆ เหมือนถ่ายรูปติดบัตรประชาชนนะครับ ทั้งนี้เพราะการที่จะถ่ายมุมหน้าตรงให้สวยนั้นเป็นเรื่องค่อนข้างยาก แต่หากถึงจะถ่ายมุมตรงก็สวย มุมอื่นก็มักจะถ่ายได้สวยเช่น ลองเปลี่ยนมุม หรือ ลองหามุมสวยอื่น ๆ ดูบ้าง




13.ทิศทางแสงพยายามเลี่ยงแหล่งกำเนิดแสงซึ่งอยู่หน้าตรง ตรงหลัง ด้านบน ด้านล่าง เพราะแหล่งกำเนิดแสงในลักษณะนี้ ถ่ายให้สวยยากมาก (ยกเว้นภาพที่เจตนาให้เป็นเช่นนี้โดยเฉพาะ)
พยายามกำหนดให้ทิศทางแสงเข้าด้านข้าง เฉียง ๆ (สภาพแสงธรรมชาติที่เหมาะสมเช่นนี้ ก็คือ ในช่วงเวลาเช้าไม่เกิน 9 โมง และช่วงเวลาเย็น เลย 5 โมงไปแล้ว)หรือ อีกกรณีหนึ่ง ก็คือ เลือกสภาพแสงเกลี่ย ๆ นุ่ม ๆ เช่น ในสภาพแสงรำไร ใต้ชายคา หรือ ในวันที่ฟ้าครึ้ม หรือ ให้เกลี่ยแสงโดยใช้แผ่นรีแฟล็ก (หรือแก้โดยการ fill flash : โดยการใช้กระดาษขาวมาทำเป็นกระบัง(ป้อง)ไว้เหนือ flash...และให้เงยหน้า flash ขึ้นด้านบน แล้วยิงสะท้อนแสงลงมา)




14.จะวัดแสงยังไงดีในการถ่ายภาพบุคคล (โดยเฉพาะนางแบบ) นิยมวัดแสงแบบเฉพาะจุดที่หน้าเป็นสำคัญ หลังจากวัดแสงได้แล้วก็ให้แล้วกดปุ่ม AE (ล็อคค่าแสง) หรือไม่ก็กดปุ่มชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่ง จากนั้นจัดองค์ประกอบใหม่ (หรือในกล้องบางรุ่นอาจมีฟังก์ชั่นพิเศษ ถ่ายไปเรื่อย ๆ ถ้าเปลี่ยนมุม หรือค่าแสงเปลี่ยน ก็เล็ง แล้วกดใหม่ ค่าแสงจะออกมาหลากหลาย ไม่มีสูตรค่าตายตัว หรือไม่ก็สามารถวัดแสงแบบเฉลี่ยทั้งภาพได้ด้วยเช่นกัน




15.ประกายตายิ่งมีประกายตาวาววับ..ยิ่งสวย พยายามเลือกมุมถ่าย หรือเปิดแฟลช หรือใช้รีแฟล็กช่วยบ้าง เพื่อให้ตามีประกาย (ข้อนี้สำคัญเช่นกัน)




16.Properties อย่าให้นางแบบมือว่างในที่นี้หมายถึงอุปกรณ์ประกอบฉากนั่นเอง ดอกไม้ เครื่องประดับ หนังสือ กระเป๋า หมวก ตุ๊กตา หมอนอิง รวมถึงอุปกรณ์อื่นใด โดยพยายามเลือกอันที่ดูแล้วน่ารัก ๆ เหมาะกับสถานที่ และนางแบบ (ถ้าไม่มีก็ไม่ต้องซีเรียส)อุปกรณ์ประกอบฉากเหล่านี้ ถ้าให้นางแบบได้ถือ อุ้ม หิ้ว หรือ อิง แอบ แนบ วาง ก็จะทำให้นางแบบไม่เขินมาก และช่วยสร้างบรรยากาศ และเรื่องราวได้ดีอีกด้วย




17. 1~2~3 แช๊ะ!!! 4~5~6 แช๊ะ!!!เทนนิคนี้ไม่มีอะไรมาก แค่นับ 1 2 3 แล้วกดชัตเตอร์ลงไป แต่นอกจาก 1 2 3 แล้วลองนับ 4 5 6 แล้วกดถ่ายดูสิ จะพบอีกฟิวนึงของนางแบบ ทำให้นางแบบดูเป็นธรรมชาติกว่า




18.หนิดหนมกันก่อน พูดคุยกันบ้างอะไรบ้าง!!!เทคนิคนี้ ไม่มีอะไรมาก นอกจากการพูดคุยระหว่างช่างภาพกับนางแบบลองสนทนาปาร์ตี้กัน เหตุผลก็เพราะ เพื่อไม่ให้นางแบบเขินอาย หรือโพสท่าไม่เป็นธรรมชาติในระหว่างถ่ายภาพและการพูดคุยกัน ยังเป็นการสร้างความเข้าใจกันดี ถึงลักษณะที่ต้องการสื่อ ว่าจะสื่อออกมาสไตล์ไหน อารมณ์ไหนได้ด้วย



คลิกดูภาพใหญ่





พี่สาวนู๋เ ค่ะ ^ ^





:: เทคนิคการแต่งภาพ :: ชุบชีวิตให้กับภาพถ่ายด้วยเทคนิคสไตล์โลโม (LOMO)

หลายคนอาจจะงง ว่าภาพ โลโม(LOMO) มันคืออะไรบ้างก็ว่าเป็นแนวทางการถ่ายภาพอย่างหนึ่ง บ้างก็ว่ามันคือภาพที่ได้จากกล้องโลโมซึ่งเป็นกล้องฟิล์มแต่เอาเป็นว่าภาพแนวโลโมก็คือภาพที่มี contrast จัดๆ ขอบรูปมืดๆ ประมาณรูปด้านล่าง แม้ว่าเราจะไม่มีกล้องโลโมที่จะถ่ายภาพให้ออกมาแปลกตาอย่างในภาพ แต่เราก็สามารถนำภาพจากกล้องดิจิตอลของเรา มาดัดแปลงแต่งเติมให้เป็นภาพแนวโลโมได้ไม่ยากค่ะ วิธีที่จะแนะนำนี้เป็นวิธีการทำภาพแนวโลโมแบบไม่ต้องออกแรงมาก เพราะเราจะใช้ script ซึ่งเป็นวิธีแบบสำเร็จรูปที่ซู๊ดดด..



Before

After


มาเริ่มกันเลยดีกว่า
- เปิดโปรแกรม Photoshop ขึ้นมาเลย
- เปิดภาพที่ต้องการค่ะ หากใครจะ resize ก็ resize ได้ตามศรัทธา ส่วนผมจะ resize ให้ได้รูปขนาด 600x400
- ไปที่เมนูเลือก File > Scripts > CHLomoScript

รอแป๊บนึงให้มันจัดการรูปของเราก่อน จะได้รูปออกมาแบบนี้


จากรูปที่ได้จะเห็นว่าสีมันจัดจ้านแสบตามาก เราต้องมาลดสีมันนิดหน่อย โดยคลิกที่เลเยอร์ Background ที่ palette "Layer"

คลิกปุ่มรูปวงกลมผ่าครึ่ง และเลือก Hue/Saturation...จากนั้นปรับแถบตรงกลาง (Saturation) ให้เลื่อนไปทางซ้ายมือ

จะปรับเท่าไหร่ก็ได้ตามความชอบเลย สำหรับนู๋ ปรับไปที่ -35 ค่ะ

ในที่สุดเราก็ได้ชุบชีวิตภาพที่แสนจะธรรมดา ไม่มีอะไรเลย ให้ดูมีชีวิตชีวาและให้ความรู้สึกที่แตกต่างโดยการแต่งภาพสไตล์โลโม ลองมาเปรียบเทียบภาพก่อนและหลังแต่งภาพกันค่ะ เห็นได้ชัดว่าภาพดูดีให้ความรู้สึกแตกต่างขึ้นมาทันทีค่ะ


นำตัวอย่างภาพ LOMO มาให้ดูกัน

ขอบคุณข้อมูล : http://www.siamfreestyle.com/

มารู้จัก กล้อง DSLR


D-SLR หรือ DSLR ย่อมาจากคำว่า Digital Single-Lens Reflex
•หมายถึงกล้องดิจิตอลที่มีกลไกในลักษณะเดียวกันกับกล้อง แบบฟิล์ม 35mm. SLR เพียงแต่ใช้เซนเซอร์ในการรับภาพ แทนการใช้ฟิล์ม






ส่วนประกอบของกล้อง D-SLR

เซนเซอร์รับภาพ หรือเรียกว่า Image Sensor ใช้ในการรับสัญญาณภาพแล้วแปลงเป็นสัญญาณดิจิทัล
•Exposure modes ใช้ในการเปลี่ยนโหมดการถ่าย หรือ โหมดการทำงาน
•ปุ่มกดชัตเตอร์ ใช้ในการสั่งให้ชัตเตอร์ทำงาน
แฟลช ใช้ในการเพิ่มแสงให้ภาพ หรือ ทำให้เกิดแสงสะท้อน
Hot Shoe ในกรณีที่แฟลตในตัวเครื่องไม่เพียงพอสามารถต่อเพิ่มแฟลต
•ไฟแสดงสถานการณ์ตั้งเวลาถ่ายภาพ เป็นไฟ LED กระพริบตามเวลาการตั้งถ่ายภาพ
•เลนส์ถ่ายภาพ มีหลายชนิด ตามการใช้งาน และ ชนิดของ Lens mount
ปุ่มเปิดปิด ใช้สำหรับเปิดปิดกล้อง
•เซลล์วัดแสงแฟลตทำจาก CCDใช้วัดแสงจากวัตถุเพื่อชดเชยแฟลต
•ช่องมองภาพ ใช้สำหรับมองภาพ ซึ่งภาพจะถูกสะท้อนผ่านกระจกสะท้อน ที่อยู่ด้านหน้าเซ็นเซอร์รับภาพ
•USB Socket เป็นช่องสำหรับเสียบสาย USB เพื่อย้ายข้อมูล
ช่องเสียบหม้อแปลง เป็นช่องนำเข้าไฟจากหม้อแปลง
•หน้าจอLCD สำหรับแสดงภาพ และการตั้งค่า โดยกล้องบางรุ่นจะมีหน้าจอแยกกัน เพื่อแสดงรายละเอียด ที่แตกต่างกัน
•ช่องต่อขาตั้ง เป็นช่องสำหรับต่อกับขาตั้งกล้อง
ช่องใส่การ์ดความจำ สำหรับใส่การ์ดความจำ
•ปุ่มคอนโทรลคำสั่ง โดยส่วนใหญ่เป็นปุ่มสี่ทิศทางใช้สำหรับเลื่อนปรับค่าต่างๆ
วงล้อปรับค่า เป็นวงล้อด้านบนของกล้อง ใช้สำหรับปรับค่าโดยเฉพาะ เช่น รูรับแสง ค่าชดเชยแสง
•วงล้อโฟกัส เป็นวงล้ออยู่บนเลนส์ ใช้สำหรับปรับระยะโฟกัสของเลนส์
•วงล้อซูม เป็นวงล้ออยู่บนเลนส์ ใช้สำหรับปรับอัตราขยายของเลนส์
•รังถ่าน ใช้สำหรับใส่แบตเตอรี่ของกล้อง
•แบตเตอรี่ เป็นแหล่งพลังงานของกล้อง โดยส่วนใหญ่จะเป็นLithium ion หรือ Nickel metal hydride battery
ช่องต่อออกสัญญาณวิดีโอ เป็นสายสัญญาณขนาดเล็กใช้ต่อกับโทรทัศน์ผ่านช่อง Composite








รูปแบบการทำงาน
กล้องสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยวดิจิทัล (D-SLR) ใช้กระจกสะท้อน
•สำหรับการแสดงภาพที่กำลังจะถ่ายผ่านช่องมองภาพ ภาพตัดขวางด้านซ้ายมือ นั่นแสดงให้เห็นถึงเส้นทางของแสงที่เดินทางผ่านเลนส์ (1) และสะท้อนผ่านกระจกสะท้อนภาพ (2) และฉายบนแผ่นปรับโฟกัส (5) จากนั้นทำการลดขนาดภาพผ่าน เลนส์ลดขนาดภาพ (6) และสะท้อนใน ปริซึมห้าเหลี่ยม ทำให้ภาพปรากฏที่ช่องมองภาพ (8) เมื่อกดปุ่มชัตเตอร์ จะทำให้กระจกสะท้อนจะกระเด้งตามลูกศรขึ้นไป และช่องระนาบโฟกัส (3) เปิดออก และภาพฉายลงบน เซนเซอร์รับภาพ(4) เช่นเดียวกับที่ปรากฏบนระนาบโฟกัส





ขอบคุณที่มา th.wikipedia.org/wiki/กล้องดีเอสแอลอาร์

แนะนำตัว ก่อน ค่ะ


  • ชื่อ ณัฐวดี ศรีแสนยงค์
  • ชื่อเล่น น้องหญิง ^ = ^
  • คณะแพทยศาสตร์ สาขา แพทยศาสตร์ M.D.
  • รหัสนิสิต 52011515013
  • มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • โทรศัพท์ 087-23410XX ฮ่ะ ๆ
  • ชอบ สีเขียวค่ะ
  • ว่าง ๆ เล่นเกม + ศึกษาดูงานบนโลกออนไลน์ ค่ะ+ ฟังเพลง
  • ชอบ ถ่ายรูป เที่ยว

งาน Com present ค๊า

อาจารย์สั่ง อาทิตหน้า ม่าย ย ย ยอยู่

- อัพ บล๊อค ประจำ
- ส่งลิ้ง งานแนะนำตัว HTML
- โพส แนะนำตัว เนื้อหาที่จะพรีเซ้น