:: เทคนิคการแต่งภาพ :: ชุบชีวิตให้กับภาพถ่ายด้วยเทคนิคสไตล์โลโม (LOMO)

หลายคนอาจจะงง ว่าภาพ โลโม(LOMO) มันคืออะไรบ้างก็ว่าเป็นแนวทางการถ่ายภาพอย่างหนึ่ง บ้างก็ว่ามันคือภาพที่ได้จากกล้องโลโมซึ่งเป็นกล้องฟิล์มแต่เอาเป็นว่าภาพแนวโลโมก็คือภาพที่มี contrast จัดๆ ขอบรูปมืดๆ ประมาณรูปด้านล่าง แม้ว่าเราจะไม่มีกล้องโลโมที่จะถ่ายภาพให้ออกมาแปลกตาอย่างในภาพ แต่เราก็สามารถนำภาพจากกล้องดิจิตอลของเรา มาดัดแปลงแต่งเติมให้เป็นภาพแนวโลโมได้ไม่ยากค่ะ วิธีที่จะแนะนำนี้เป็นวิธีการทำภาพแนวโลโมแบบไม่ต้องออกแรงมาก เพราะเราจะใช้ script ซึ่งเป็นวิธีแบบสำเร็จรูปที่ซู๊ดดด..



Before

After


มาเริ่มกันเลยดีกว่า
- เปิดโปรแกรม Photoshop ขึ้นมาเลย
- เปิดภาพที่ต้องการค่ะ หากใครจะ resize ก็ resize ได้ตามศรัทธา ส่วนผมจะ resize ให้ได้รูปขนาด 600x400
- ไปที่เมนูเลือก File > Scripts > CHLomoScript

รอแป๊บนึงให้มันจัดการรูปของเราก่อน จะได้รูปออกมาแบบนี้


จากรูปที่ได้จะเห็นว่าสีมันจัดจ้านแสบตามาก เราต้องมาลดสีมันนิดหน่อย โดยคลิกที่เลเยอร์ Background ที่ palette "Layer"

คลิกปุ่มรูปวงกลมผ่าครึ่ง และเลือก Hue/Saturation...จากนั้นปรับแถบตรงกลาง (Saturation) ให้เลื่อนไปทางซ้ายมือ

จะปรับเท่าไหร่ก็ได้ตามความชอบเลย สำหรับนู๋ ปรับไปที่ -35 ค่ะ

ในที่สุดเราก็ได้ชุบชีวิตภาพที่แสนจะธรรมดา ไม่มีอะไรเลย ให้ดูมีชีวิตชีวาและให้ความรู้สึกที่แตกต่างโดยการแต่งภาพสไตล์โลโม ลองมาเปรียบเทียบภาพก่อนและหลังแต่งภาพกันค่ะ เห็นได้ชัดว่าภาพดูดีให้ความรู้สึกแตกต่างขึ้นมาทันทีค่ะ


นำตัวอย่างภาพ LOMO มาให้ดูกัน

ขอบคุณข้อมูล : http://www.siamfreestyle.com/

มารู้จัก กล้อง DSLR


D-SLR หรือ DSLR ย่อมาจากคำว่า Digital Single-Lens Reflex
•หมายถึงกล้องดิจิตอลที่มีกลไกในลักษณะเดียวกันกับกล้อง แบบฟิล์ม 35mm. SLR เพียงแต่ใช้เซนเซอร์ในการรับภาพ แทนการใช้ฟิล์ม






ส่วนประกอบของกล้อง D-SLR

เซนเซอร์รับภาพ หรือเรียกว่า Image Sensor ใช้ในการรับสัญญาณภาพแล้วแปลงเป็นสัญญาณดิจิทัล
•Exposure modes ใช้ในการเปลี่ยนโหมดการถ่าย หรือ โหมดการทำงาน
•ปุ่มกดชัตเตอร์ ใช้ในการสั่งให้ชัตเตอร์ทำงาน
แฟลช ใช้ในการเพิ่มแสงให้ภาพ หรือ ทำให้เกิดแสงสะท้อน
Hot Shoe ในกรณีที่แฟลตในตัวเครื่องไม่เพียงพอสามารถต่อเพิ่มแฟลต
•ไฟแสดงสถานการณ์ตั้งเวลาถ่ายภาพ เป็นไฟ LED กระพริบตามเวลาการตั้งถ่ายภาพ
•เลนส์ถ่ายภาพ มีหลายชนิด ตามการใช้งาน และ ชนิดของ Lens mount
ปุ่มเปิดปิด ใช้สำหรับเปิดปิดกล้อง
•เซลล์วัดแสงแฟลตทำจาก CCDใช้วัดแสงจากวัตถุเพื่อชดเชยแฟลต
•ช่องมองภาพ ใช้สำหรับมองภาพ ซึ่งภาพจะถูกสะท้อนผ่านกระจกสะท้อน ที่อยู่ด้านหน้าเซ็นเซอร์รับภาพ
•USB Socket เป็นช่องสำหรับเสียบสาย USB เพื่อย้ายข้อมูล
ช่องเสียบหม้อแปลง เป็นช่องนำเข้าไฟจากหม้อแปลง
•หน้าจอLCD สำหรับแสดงภาพ และการตั้งค่า โดยกล้องบางรุ่นจะมีหน้าจอแยกกัน เพื่อแสดงรายละเอียด ที่แตกต่างกัน
•ช่องต่อขาตั้ง เป็นช่องสำหรับต่อกับขาตั้งกล้อง
ช่องใส่การ์ดความจำ สำหรับใส่การ์ดความจำ
•ปุ่มคอนโทรลคำสั่ง โดยส่วนใหญ่เป็นปุ่มสี่ทิศทางใช้สำหรับเลื่อนปรับค่าต่างๆ
วงล้อปรับค่า เป็นวงล้อด้านบนของกล้อง ใช้สำหรับปรับค่าโดยเฉพาะ เช่น รูรับแสง ค่าชดเชยแสง
•วงล้อโฟกัส เป็นวงล้ออยู่บนเลนส์ ใช้สำหรับปรับระยะโฟกัสของเลนส์
•วงล้อซูม เป็นวงล้ออยู่บนเลนส์ ใช้สำหรับปรับอัตราขยายของเลนส์
•รังถ่าน ใช้สำหรับใส่แบตเตอรี่ของกล้อง
•แบตเตอรี่ เป็นแหล่งพลังงานของกล้อง โดยส่วนใหญ่จะเป็นLithium ion หรือ Nickel metal hydride battery
ช่องต่อออกสัญญาณวิดีโอ เป็นสายสัญญาณขนาดเล็กใช้ต่อกับโทรทัศน์ผ่านช่อง Composite








รูปแบบการทำงาน
กล้องสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยวดิจิทัล (D-SLR) ใช้กระจกสะท้อน
•สำหรับการแสดงภาพที่กำลังจะถ่ายผ่านช่องมองภาพ ภาพตัดขวางด้านซ้ายมือ นั่นแสดงให้เห็นถึงเส้นทางของแสงที่เดินทางผ่านเลนส์ (1) และสะท้อนผ่านกระจกสะท้อนภาพ (2) และฉายบนแผ่นปรับโฟกัส (5) จากนั้นทำการลดขนาดภาพผ่าน เลนส์ลดขนาดภาพ (6) และสะท้อนใน ปริซึมห้าเหลี่ยม ทำให้ภาพปรากฏที่ช่องมองภาพ (8) เมื่อกดปุ่มชัตเตอร์ จะทำให้กระจกสะท้อนจะกระเด้งตามลูกศรขึ้นไป และช่องระนาบโฟกัส (3) เปิดออก และภาพฉายลงบน เซนเซอร์รับภาพ(4) เช่นเดียวกับที่ปรากฏบนระนาบโฟกัส





ขอบคุณที่มา th.wikipedia.org/wiki/กล้องดีเอสแอลอาร์

แนะนำตัว ก่อน ค่ะ


  • ชื่อ ณัฐวดี ศรีแสนยงค์
  • ชื่อเล่น น้องหญิง ^ = ^
  • คณะแพทยศาสตร์ สาขา แพทยศาสตร์ M.D.
  • รหัสนิสิต 52011515013
  • มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • โทรศัพท์ 087-23410XX ฮ่ะ ๆ
  • ชอบ สีเขียวค่ะ
  • ว่าง ๆ เล่นเกม + ศึกษาดูงานบนโลกออนไลน์ ค่ะ+ ฟังเพลง
  • ชอบ ถ่ายรูป เที่ยว

งาน Com present ค๊า

อาจารย์สั่ง อาทิตหน้า ม่าย ย ย ยอยู่

- อัพ บล๊อค ประจำ
- ส่งลิ้ง งานแนะนำตัว HTML
- โพส แนะนำตัว เนื้อหาที่จะพรีเซ้น