::งานประเมินเว็บของวิชา Computer and Presentation::

ให้นิสิตทำการประเมิน Blog ของตัวเองโดยมีเกณฑ์การประเมินดังนี้


- เนื้อหาเกี่ยวกับ ?-วัตถุประสงค์/เป้าหมาย ?-เนื้อหาเป็นประโยชน์ (ให้คะแนน 0-5) ?
- - - - -5 คะแนน ค่ะ

- ความน่าสนใจ (0-5) ?
- - - - -5 คะแนน ค่ะ

- ความทันสมัย (0-5) ?
- - - - -5 คะแนน ค่ะ

-การออกแบบ/ความสวยงาม (0-5) ?
- - - - -5 คะแนน ค่ะ

- ความเรียบง่าย(อ่านง่าย เข้าใจง่าย)(0-5)?
- - - - -5 คะแนน ค่ะ


สรุปคะแนนที่ได้ / / // / วุ้ว ว ว ว ว

- - - - -25 คะแนน

เขียนผลการประเมินลงใน Blog ของตัวเองโดยใส่ Label (ป้ายชื่อ) เป็นงานส่ง

^ ^ห่ะ ๆ ๆ

หลักการออกแบบและพัฒนาการนำเสนองานผ่านเว็บ [งานส่งค่ะ]

1. ความเรียบง่าย (Simplicity)หมายถึง การจำกัดองค์ประกอบเสริมให้เหลือเฉพาะองค์ประกอบหลัก คือในส่วนของกราฟิก สีสัน ตัวอักษรและภาพเคลื่อนไหว ที่จะนำมาประกอบเสริมในการนำเสนอนั้นต้องเลือกให้พอเหมาะ ถ้าหากมีมากเกินไปจะรบกวนสายตาและสร้างความคำราญต่อผู้ใช้ โดยการออกแบบที่เรียบง่าย ไม่ซับซ้อน และใช้งานอย่างสะดวก

2. ความสม่ำเสมอ ( Consistency)หมายถึง การสร้างความสม่ำเสมอให้เกิดขึ้นตลอดทั้งเว็บไซต์ โดยอาจเลือกใช้รูปแบบเดียวกันตลอดทั้งเว็บไซต์ก็ได้ เพราะถ้าหากว่าแต่ละหน้าในเว็บไซต์นั้นมีความแตกต่างกันมากจนเกินไป อาจทำให้ผู้ใช้เกิดความสับสนและไม่แน่ใจว่ากำลังอยู่ในเว็บไซต์เดิมหรือไม่ และความสมำเสมอเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการนำเสนอสไลด์ซึ่งเป็นเนื้อหาในเรื่อง เดียวกัน คือ ต้องมีความคงตัวในการออกแบบสไลด์ ซึ่งหมายถึงต้องใช้รูปแบบสไลด์เดียวกันทุกแผ่นที่เกี่ยวกับเนื้อหานั้น โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนสี พื้นหลัง หรือขนาดและแบบตัวอักษร โดยอาจจะมีการเน้นในจุดที่สำคัญเช่นการเล่นสีตัวอักษรหรือสีสไลด์

3. ความเป็นเอกลักษณ์ (Identity)ในการออกแบบเว็บไซต์ต้องคำนึงถึงลักษณะขององค์กรเป็นหลัก เนื่องจากเว็บไซต์จะสะท้อนถึงเอกลักษณ์และลักษณะขององค์กร การเลือกใช้ตัวอักษร ชุดสี รูปภาพหรือกราฟิก จะมีผลต่อรูปแบบของเว็บไซต์เป็นอย่างมาก ตัวอย่างเช่น ถ้าเราต้องออกแบบเว็บไซต์ของธนาคารแต่เรากลับเลือกสีสันและกราฟิกมากมาย อาจทำให้ผู้ใช้คิดว่าเป็นเว็บไซต์ของสวนสนุกซึ่งส่งผลต่อความเชื่อถือของ องค์กรได้

4. เนื้อหา (Useful Content)ถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในเว็บไซต์ เนื้อหาในเว็บไซต์ต้องสมบูรณ์และได้รับการปรับปรุงพัฒนาให้ทันสมัยอยู่เสมอ ผู้พัฒนาต้องเตรียมข้อมูลและเนื้อหาที่ผู้ใช้ต้องการให้ถูกต้องและสมบูรณ์ เนื้อหาที่สำคัญที่สุดคือเนื้อหาที่ทีมผู้พัฒนาสร้างสรรค์ขึ้นมาเอง และไม่ไปซ้ำกับเว็บอื่น เพราะจะถือเป็นสิ่งที่ดึงดูดผู้ใช้ให้เข้ามาเว็บไซต์ได้เสมอ แต่ถ้าเป็นเว็บที่ลิงค์ข้อมูลจากเว็บอื่น ๆ มาเมื่อใดก็ตามที่ผู้ใช้ทราบว่า ข้อมูลนั้นมาจากเว็บใด ผู้ใช้ก็ไม่จำเป็นต้องกลับมาใช้งานลิงค์เหล่านั้นอีก

5. ระบบเนวิเกชั่น (User-Friendly Navigation)เป็นส่วนประกอบที่มีความสำคัญต่อเว็บไซต์มาก เพราะจะช่วยไม่ให้ผู้ใช้เกิดความสับสนระหว่างดูเว็บไซต์ ระบบเนวิเกชั่นจึงเปรียบเสมือนป้ายบอกทาง ดังนั้นการออกแบบเนวิเกชั่น จึงควรให้เข้าใจง่าย ใช้งานได้สะดวก ถ้ามีการใช้กราฟิกก็ควรสื่อความหมาย ตำแหน่งของการวางเนวิเกชั่นก็ควรวางให้สม่ำเสมอ เช่น อยู่ตำแหน่งบนสุดของทุกหน้าเป็นต้น ซึ่งถ้าจะให้ดีเมื่อมีเนวิเกชั่นที่เป็นกราฟิกก็ควรเพิ่มระบบเนวิเกชั่นที่ เป็นตัวอักษรไว้ส่วนล่างด้วย เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ที่ยกเลิกการแสดงผลภาพกราฟิกบนเว็บเบราเซอร์

6. คุณภาพของสิ่งที่ปรากฏให้เห็นในเว็บไซต์ (Visual Appeal)ลักษณะที่น่าสนใจของเว็บไซต์นั้น ขึ้นอยู่กับความชอบส่วนบุคคลเป็นสำคัญ แต่โดยรวมแล้วก็สามารถสรุปได้ว่าเว็บไซต์ที่น่าสนใจนั้นส่วนประกอบต่าง ๆ ควรมีคุณภาพ เช่น กราฟิกควรสมบูรณ์ไม่มีรอยหรือขอบขั้นบันได้ให้เห็น ชนิดตัวอักษรอ่านง่ายสบายตา มีการเลือกใช้โทนสีที่เข้ากันอย่างสวยงาม เป็นต้น

7. ความสะดวกของการใช้ในสภาพต่าง ๆ (Compatibility)การใช้งานของเว็บไซต์นั้นไม่ควรมีขอบจำกัด กล่าวคือ ต้องสามารถใช้งานได้ดีในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย ไม่มีการบังคับให้ผู้ใช้ต้องติดตั้งโปรแกรมอื่นใดเพิ่มเติม นอกเหนือจากเว็บบราวเซอร์ ควรเป็นเว็บที่แสดงผลได้ดีในทุกระบบปฏิบัติการ สามารถแสดงผลได้ในทุกความละเอียดหน้าจอ ซึ่งหากเป็นเว็บไซต์ที่มีผู้ใช้บริการมากและกลุ่มเป้าหมายหลากหลายควรให้ ความสำคัญกับเรื่องนี้ให้มาก

8. ความคงที่ในการออกแบบ (Design Stability)ถ้าต้องการให้ผู้ใช้งานรู้สึกว่าเว็บไซต์มีคุณภาพ ถูกต้อง และเชื่อถือได้ ควรให้ความสำคัญกับการออกแบบเว็บไซต์เป็นอย่างมาก ต้องออกแบบวางแผนและเรียบเรียงเนื้อหาอย่างรอบคอบ ถ้าเว็บที่จัดทำขึ้นอย่างลวก ๆ ไม่มีมาตรฐานการออกแบบและระบบการจัดการข้อมูล ถ้ามีปัญหามากขึ้นอาจส่งผลให้เกิดปัญหาและทำให้ผู้ใช้หมดความเชื่อถือ

9. ความคงที่ของการทำงาน (Function Stability)ระบบการทำงานต่าง ๆ ในเว็บไซต์ควรมีความถูกต้องแน่นอน ซึ่งต้องได้รับการออกแบบสร้างสรรค์และตรวจสอบอยู่เสมอ ตัวอย่างเช่น ลิงค์ต่าง ๆ ในเว็บไซต์ ต้องตรวจสอบว่ายังสามารถลิงค์ข้อมูลได้ถูกต้องหรือไม่ เพราะเว็บไซต์อื่นอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ปัญหาที่เกิดจากลิงค์ ก็คือ ลิงค์ขาด ซึ่งพบได้บ่อยเป็นปัญหาที่สร้างความรำคาญกับผู้ใช้เป็นอย่างมาก

การวิเคราะห์และประเมินผลสื่อนำเสนอในแบบต่างๆ [ งานส่งค่ะ ]

1.ความเรียบง่าย:จัดทำสไลด์ให้ดูเรียบง่ายที่สุดเท่าที่ทำได้ เช่น ใช้สีอ่อนเป็นพื้นหลังเพื่อไม่รบกวนสายตาในการอ่าน และสามารถเห็นเนื้อหาได้อย่างชัดเจน หรือใช้พื้นหลังตามลักษณะเนื้อหา

2.มีความคงตัว(consistent):เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการนำเสนอสไลด์ซึ่งเป็นเนื้อหาในเรื่องเดียวกัน คือ ต้องมีความคงตัวในการออกแบบสไลด์ ซึ่งหมายถึงต้องใช้รูปแบบสไลด์เดียวกันทุกแผ่นที่เกี่ยวกับเนื้อหานั้น โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนสี พื้นหลัง หรือขนาดและแบบตัวอักษร แต่หากต้องการเน้นจุดสำคัญ หรือเป็นเนื้อหาย่อยออกไปจะสามารถเปลี่ยนบางสิ่ง เช่น สีตัวอักษรในสไลด์ให้ดูแตกต่างไปได้บ้าง หรืออาจมีการเปลี่ยนสีพื้นหลังให้แตกต่างจากเนื้อหาสักเล็กน้อยก็อาจทำได้เช่นกัน


3.ใช้ความสมดุล:การออกแบบส่วนประกอบของสไลด์ให้มีลักษณะสมดุลมีแบบแผน (formal balance)หรือสมดุลไม่มีแบบแผน (informal balance) ก็ได้ แต่ต้องระวังสไลด์ทุกแผ่นให้มีลักษณะของความสมดุลที่เลือกใช้ให้เหมือนกันเพื่อความคงตัว


4.มีแนวคิดเดียวในสไลด์แต่ละแผ่น:ข้อความ และภาพที่บรรจุในสไลด์แผ่นหนึ่งๆ ต้องเป็นเนื้อหาของแต่ละแนวคิดเท่านั้น หากเนื้อหานั้นมีหลายแนวคิด หรือเนื้อหาย่อยต้องใช้สไลด์แผ่นใหม่

5.สร้างความกลมกลืน:ใช้แบบอักษรและภาพกราฟิกให้เหมาะสมกับลักษณะของเนื้อหา ใช้แบบอักษรที่อ่านง่าย และใช้สีที่ดูแล้วสบายตา เลือกภาพกราฟิกที่ไม่ซับซ้อน และให้ถูกต้องตรงตามเนื้อหา รวมถึงให้เหมาะสมกับเนื้อหาที่เป็นทางการ หรือไม่เป็นทางการด้วย

6.แบบอักษร:ไม่ใช้อักษรมากกว่า 2 แบบในสไลด์เรื่องหนึ่ง โดยใช้แบบหนึ่งเป็นหัวข้อ และอีกแบบหนึ่งเป็นเนื้อหา หากต้องการเน้นข้อความตอนใดให้ใช้ตัวหนา (bold) หรือตัวเอน (italic) แทนเพื่อการแบ่งแยกให้เห็นความแตกต่าง

7.เนื้อหา และจุดนำข้อความ:ข้อความในสไลด์ควรเป็นเฉพาะหัวข้อ หรือเนื้อหาสำคัญเท่านั้น โดยไม่มีรายละเอียดของเนื้อหา และควรนำเสนอเป็นแต่ละย่อหน้า โดยอาจมีจุดนำข้อความอยู่ข้างหน้า เพื่อแสดงให้ทราบถึงเนื้อหาแต่ละประเด็น และไม่ควรมีจุดนำข้อความมากกว่า 4 จุดในสไลด์แผ่นหนึ่ง โดยสามารถใช้ต้นแบบสไลด์ที่มีจุดนำข้อความใน Auto Layout เพื่อเพิ่มจุดนำข้อความให้ปรากฏขึ้นหน้าข้อความแต่ละครั้งเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้รับฟังการนำเสนอ อาจจะใช้การจางข้อความ (dim body text) ในข้อความที่บรรยายไปแล้วเพื่อให้มีเฉพาะจุดนำข้อความ และเนื้อหาที่กำลังนำเสนอเท่านั้นปรากฏแก่สายตา

8.เลือกใช้กราฟิกอย่างระมัดระวัง:การใช้กราฟิกที่เหมาะสมจะสามารถเพิ่มการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิผล แต่หากใช้กราฟิกที่ไม่เหมาะสมกับเนื้อหาจะทำให้การเรียนรู้นั้นลดลง และอาจทำให้สื่อความหมายผิดไปได้

9.ความคมชัด(resolution)ของภาพ:เนื่องจากความคมชัดของจอมอนิเตอร์มีเพียง 72-96 DPI เท่านั้น ภาพกราฟิกที่นำเสนอประกอบในเนื้อหาจึงไม่จำเป็นต้องใช้ภาพที่มีความคมชัดสูงมาก ควรใช้ภาพในรูปแบบ JPEG ที่มีความคมชัดปานกลาง และขนาดไม่ใหญ่มากนัก ประมาณ 20-50 KB ซึ่งท่านควรทำการบีบอัด หรือcompress และลดขนาดภาพก่อนเพื่อไม่ให้เปลืองเนื้อที่ในการเก็บบันทึก และการจัดส่งไฟล์ผ่านไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e- mail) หรือการอัพโหลดไว้บนเว็บไซต์จะสามารถทำได้ไวยิ่งขึ้น

10.เลือกต้นแบบสไลด์ และแบบอักษรที่เหมาะสมกับอุปกรณ์ร่วม:เนื่องจากการนำเสนอต้องมีการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับอุปกรณ์ร่วม เช่น เครื่องแอลซีดี หรือโทรทัศน์เพื่อเสนอข้อมูลขยายใหญ่บนจอภาพ ดังนั้น ก่อนการนำเสนอควรทำการทดลองก่อนเพื่อให้ได้ภาพบนจอภาพที่ถูกต้องเหมาะสม เพราะว่าเมื่อฉายแล้วเสี้ยวซ้ายของสไลด์จะไม่ปรากฏให้เห็นตามหลักของอัตราส่วน 4:3

::Easy Portrait ง่ายๆกับการถ่ายภาพบุคคล::


เทคนิคการถ่ายภาพให้สวย
1.การทิ้งฉากหลัง หรือ ละลายฉากหลังดีตรงที่จะทำตัวแบบเด่น ไม่มีฉากหลังรก ๆ มาแย่งสายตาแต่ในบางกรณี..หากฉากหลังไม่แย่งสายตา หรือ เป็นลักษณะฉากหลังที่สามารถที่จะเล่าเรื่องราวได้ ก็ถือได้ว่า เป็นภาพที่สมบูรณ์ได้เช่นกัน
2.แสงสีของฉากหลังแสงสีของฉากหลังที่ดี ก็คือ แสงสีของฉากจะต้องมืดกว่าค่าแสงเฉลี่ยของหน้านางแบบ และสว่างกว่าค่าแสงที่ผมส่วนมืดของนางแบบ(ในบางกรณี..เราจะอาจกำหนดให้ฉากหลังชัดก็ได้ หากฉากหลังมีความน่าสนใจ แต่ถ้าหากฉากหลังนั้นมีลักษณะไม่สวยงาม ยุ่งเหยิง รวมทั้งจะไปแย่งความเด่นของตัวแบบไปโดยไม่จำเป็นแล้ว ก็ให้ใช้วิธีการละลายฉากหลัง หรือ เลี่ยง/หลบฉากหลังแทน)
3.อย่าให้ตัวแบบ/นางแบบกลายเป็นคนพิการ ถ่ายรูปคนอย่าทำให้นางแบบเป็นคนพิการเด็ดขาด!!! นั่นคือ อย่าให้ปลายมือ ปลายเท้า ข้อศอกขาดพยายามเก็บเข้ามาในเฟรมให้หมด ถ้าจะตัดส่วนไม่เอาไว้ในเฟรมก็ต้องตัดให้เห็นว่าจงใจตัด เช่น ตัดสูงกว่าศอกและเข่าแต่ประเภทเห็นทั้งตัว ยกเว้นนิ้วเท้าอย่างนี้ไม่ควรตัดอย่างเด็ดขาดเลย
4.อย่าให้ตัวแบบคอขาดถ้าฉากหลังเป็นท้องฟ้า ทะเล ขอบฟ้า สายไฟ หรืออะไรก็ตาม ที่มีเส้นนอน พยายามอย่าจัดให้พาดผ่านคอนางแบบเด็ดขาด เพราะจะทำให้ได้ภาพในลักษณะ "นางแบบคอขาด!!!"ถ้าจะให้ที่สุดดีควรจัดให้เส้นนอนอยู่สูงกว่าระดับศีรษะ หรือ ต่ำกว่าไหล่จึงจะทำให้ภาพดูดีขึ้น
5.วัดแสงที่หน้า และโฟกัสไปที่ลูกตาเป็นสำคัญ ถ่ายรูปลูกตาต้องชัดเสมอ ถ้าหากไม่ชัดก็จะต้องมีเหตุผลมารองรับว่า...ทำไมถึงอยากให้ชัด ใบหน้าจะเป็นจุดแรกที่คนมอง อย่างน้อยที่สุด เราจะต้องเซ็ทให้แสงที่หน้าพอดีเสมอ ยกเว้นในกรณีที่เจตนาให้มืด หรือสว่างกว่าปกติ...แต่ก็ต้องมีเหตุผลมารองรับเสมอด้วย
6.จะเลือกขวา หรือ ซ้ายดี ปกติแล้วใบหน้าของคนเราทั้งสองซีก สวยไม่เท่ากัน เรื่องนี้ช่างภาพเองจะต้องอาศัยการพินิจพิจารณาให้ดี ๆ หลังจากนั้นจึงค่อยพยายามจัดกล้องให้อยู่ฝั่งที่สวยกว่า หรือจัดแสงหลักให้อยู่ฝั่งที่สวยกว่าเป็นต้น
7.ตาโตสิ..ดูดีกว่าดังที่กล่าวข้างต้นแล้วว่า ใบหน้าของคนเราทั้ง 2 ซีก..สวยไม่เท่ากัน อาจจะคำถามว่า แล้วเราจะสังเกตได้อย่างไรล่ะ? ใช่มั้ย ใบหน้าซีกที่สวยกว่าดูไม่ยาก..มันมีเคล็ดลับอยู่ว่า ให้ดูที่ "ลูกกะตา" หากลูกตาข้างไหนโตกว่า..ใบหน้าข้างนั้น คือ ข้างที่สวยกว่า (อันนี้...ถือเป็น "เคล็ดลับ" ที่รู้กันในหมู่ช่างภาพระดับเซียน ๆ ทั้งหลาย) (จริงๆนะ)


8.ให้แสงครึ่งหน้าในกรณีที่สภาพของแสงที่ตกกระทบบนใบหน้าทั้งสองฟากมีความต่างกันมาก ผลที่ออกมาก็คือ ซีกหนึ่งสว่างจ้า แต่อีกหนึ่งมืด หากมีสภาพแสงในลักษณะนี้ประการแรกให้ถามตัวแบบว่า ชอบสภาพแสงในลักษณะนี้หรือไม่สภาพที่แหล่งกำเนิดแสงอยู่ด้านข้าง หากดูแล้วเห็นว่าจะทำให้ตัวแบบถ้าดูแล้ว ดูไม่ดี เราสามารถกำหนดเทคนิคให้ตัวแบบหันหน้าเข้าหาแสงเล็กน้อยก็จะดูขึ้นมากที เดียวเลย




9.อย่าให้นางแบบหน้ามืดข้อนี้สำคัญมาก หน้านางแบบควรที่จะสว่าง หรือหากจำเป็นที่เราจะต้องถ่ายภาพย้อนแสง ก็ให้ Fill flash เพื่อลบเงา(เปิดแสง)ที่ตัวแบบ (ยกเว้นในกรณีที่เราต้องการในลักษณะ Silhouette ก็ว่าไปอย่าง)




10.เงยหน้านิดนึง..แล้วจะดีกำหนดให้ตัวแบบเงยหน้าขึ้นนิดนึง ภาพจะออกมาดูดีกว่าหน้าตรง หรือก้มหน้างุด ๆ (ยกเว้นเจตนาให้ได้ภาพที่แสดงออกซึ่งอารมณ์อื่นใด???)เคล็ดลับหนึ่งในการดูว่าใบหน้าข้างไหนสวยกว่ากัน ก็คือ ให้สังเกตที่มุมปากเวลายิ้มของตัวแบบ ถ้ามุมปากข้างไหนยกสูงกว่ากัน ก็ข้างนั้นแหละ




11.นางแบบไม่ใช่ตัวการ์ตูน ดังนั้นเส้นผมของนางแบบจึงควรจะเห็นเป็นเส้นๆ ไม่ใช่ดำเป็นปื้น ถ้ามองแล้วเห็นผมดำเป็นปื้น ให้จัดแสงใหม่ ให้แสงกระทบผมให้ดี หรือหรี่ช่องรับแสงลงนิดนึงเพื่อให้ผมเป็นเส้น หรือ ใช้เทคนิค Rim Light นั่นเอง(ซึ่งการใช้เทคนิคนี้...มีการวัดแล้ว สรุปว่าได้ว่าจะทำให้ตัวแบบ(นางแบบ)สวยขึ้น 18.75% รวมทั้งจะทำให้ผมสวยขึ้น 33.29%... (ว่าไปนั่น...อิอิ)




12.ไม่ใช่ทำบัตรประชาชน ควรหลีกเลี่ยงการถ่ายแบบตรง ๆ เหมือนถ่ายรูปติดบัตรประชาชนนะครับ ทั้งนี้เพราะการที่จะถ่ายมุมหน้าตรงให้สวยนั้นเป็นเรื่องค่อนข้างยาก แต่หากถึงจะถ่ายมุมตรงก็สวย มุมอื่นก็มักจะถ่ายได้สวยเช่น ลองเปลี่ยนมุม หรือ ลองหามุมสวยอื่น ๆ ดูบ้าง




13.ทิศทางแสงพยายามเลี่ยงแหล่งกำเนิดแสงซึ่งอยู่หน้าตรง ตรงหลัง ด้านบน ด้านล่าง เพราะแหล่งกำเนิดแสงในลักษณะนี้ ถ่ายให้สวยยากมาก (ยกเว้นภาพที่เจตนาให้เป็นเช่นนี้โดยเฉพาะ)
พยายามกำหนดให้ทิศทางแสงเข้าด้านข้าง เฉียง ๆ (สภาพแสงธรรมชาติที่เหมาะสมเช่นนี้ ก็คือ ในช่วงเวลาเช้าไม่เกิน 9 โมง และช่วงเวลาเย็น เลย 5 โมงไปแล้ว)หรือ อีกกรณีหนึ่ง ก็คือ เลือกสภาพแสงเกลี่ย ๆ นุ่ม ๆ เช่น ในสภาพแสงรำไร ใต้ชายคา หรือ ในวันที่ฟ้าครึ้ม หรือ ให้เกลี่ยแสงโดยใช้แผ่นรีแฟล็ก (หรือแก้โดยการ fill flash : โดยการใช้กระดาษขาวมาทำเป็นกระบัง(ป้อง)ไว้เหนือ flash...และให้เงยหน้า flash ขึ้นด้านบน แล้วยิงสะท้อนแสงลงมา)




14.จะวัดแสงยังไงดีในการถ่ายภาพบุคคล (โดยเฉพาะนางแบบ) นิยมวัดแสงแบบเฉพาะจุดที่หน้าเป็นสำคัญ หลังจากวัดแสงได้แล้วก็ให้แล้วกดปุ่ม AE (ล็อคค่าแสง) หรือไม่ก็กดปุ่มชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่ง จากนั้นจัดองค์ประกอบใหม่ (หรือในกล้องบางรุ่นอาจมีฟังก์ชั่นพิเศษ ถ่ายไปเรื่อย ๆ ถ้าเปลี่ยนมุม หรือค่าแสงเปลี่ยน ก็เล็ง แล้วกดใหม่ ค่าแสงจะออกมาหลากหลาย ไม่มีสูตรค่าตายตัว หรือไม่ก็สามารถวัดแสงแบบเฉลี่ยทั้งภาพได้ด้วยเช่นกัน




15.ประกายตายิ่งมีประกายตาวาววับ..ยิ่งสวย พยายามเลือกมุมถ่าย หรือเปิดแฟลช หรือใช้รีแฟล็กช่วยบ้าง เพื่อให้ตามีประกาย (ข้อนี้สำคัญเช่นกัน)




16.Properties อย่าให้นางแบบมือว่างในที่นี้หมายถึงอุปกรณ์ประกอบฉากนั่นเอง ดอกไม้ เครื่องประดับ หนังสือ กระเป๋า หมวก ตุ๊กตา หมอนอิง รวมถึงอุปกรณ์อื่นใด โดยพยายามเลือกอันที่ดูแล้วน่ารัก ๆ เหมาะกับสถานที่ และนางแบบ (ถ้าไม่มีก็ไม่ต้องซีเรียส)อุปกรณ์ประกอบฉากเหล่านี้ ถ้าให้นางแบบได้ถือ อุ้ม หิ้ว หรือ อิง แอบ แนบ วาง ก็จะทำให้นางแบบไม่เขินมาก และช่วยสร้างบรรยากาศ และเรื่องราวได้ดีอีกด้วย




17. 1~2~3 แช๊ะ!!! 4~5~6 แช๊ะ!!!เทนนิคนี้ไม่มีอะไรมาก แค่นับ 1 2 3 แล้วกดชัตเตอร์ลงไป แต่นอกจาก 1 2 3 แล้วลองนับ 4 5 6 แล้วกดถ่ายดูสิ จะพบอีกฟิวนึงของนางแบบ ทำให้นางแบบดูเป็นธรรมชาติกว่า




18.หนิดหนมกันก่อน พูดคุยกันบ้างอะไรบ้าง!!!เทคนิคนี้ ไม่มีอะไรมาก นอกจากการพูดคุยระหว่างช่างภาพกับนางแบบลองสนทนาปาร์ตี้กัน เหตุผลก็เพราะ เพื่อไม่ให้นางแบบเขินอาย หรือโพสท่าไม่เป็นธรรมชาติในระหว่างถ่ายภาพและการพูดคุยกัน ยังเป็นการสร้างความเข้าใจกันดี ถึงลักษณะที่ต้องการสื่อ ว่าจะสื่อออกมาสไตล์ไหน อารมณ์ไหนได้ด้วย



คลิกดูภาพใหญ่





พี่สาวนู๋เ ค่ะ ^ ^